บทที่2

              ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์  คือ  จำนวนที่แสดงให้ทราบว่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง มีโอกาสเกิดขึ้นมากหรือน้อยเพียงใด
 เมื่อ   P (E)   คือ  ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์  E

   n (E)   คือ  จำนวนผลที่จะเกิดขึ้นในเหตุการณ์  E

   n ( S)  คือ  จำนวนผลทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้

          จำนวนผลที่จะเกิดขึ้นในเหตุการณ์  E     เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  เหตุการณ์ที่สนใจ หรือสิ่งที่โจทย์กำหนดให้

            จำนวนผลทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้  S   เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  แซมเปิลสเปซ  หาได้จากการทดลองสุ่ม

                           ข้อสังเกต   ถ้า  E  เป็นเหตุการณ์ใดๆ  จะพบว่า

                         1)      0  <  P(E)   <   1

                         2)    P(E)   =   0   เมื่อ   E   เป็นเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้

                         3)    P(E)   =   1   เมื่อ   E   เป็นเหตุการณ์ที่แน่นอน

อธิบายความได้ว่า      1.  ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ เป็น  0
       2.  ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ใดๆจะเป็นจำนวนใดจำนวนหนึ่ง
                  ตั้งแต่  0  ถึง  1

ผลทั้งหมดของเหตุการณ์หรือแซมเปิลสเปซ
                แซมเปิลสเปซ(Sample Space) คือเซตของผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งหมดจากการทดลองสุ่มและเป็นสิ่งที่เราสนใจ เรานิยมใช้สัญลักษณ์ แทนแซมเปิลสเปซ  จากความหมายของแซมเปิลสเปซ แสดงว่า ในการทดลองหรือการกระทำใด ๆ ก็ตาม  ผลลัพธ์ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นสมาชิกในแซมเปิลสเปซทั้งสิ้น 

ตัวอย่างที่ 1   การหาแซมเปิลสเปซในการโดยเหรียญ 1 เหรียญ ถ้าเราสนใจหน้าที่หงายขึ้น
                      ผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือ หัว หรือ ก้อย
                      ดังนั้น  แซมเปิลสเปซที่ได้ คือ 
S = {หัวก้อย}

ตัวอย่างที่ 2 ในการทอดลูกเต๋า 1 ลูก ถ้าเราสนใจแต้ม ของลูกเต๋าที่หงายขึ้น
                     ผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือ ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4 หรือ 5 หรือ 6
                     ดังนั้นแซมเปิลสเปซที่ได้คือ
S = {12,3,4,5,6}

ตัวอย่างที่ 3 จากการทดลองสุ่มโดยการทดลองทอดลูกเต๋า 2 ลูก
                    1. จงหาแซมเปิลสเปซของแต้มของลูกเต๋าที่หงายขึ้น
                    2. จงหาแซมเปิลสเปซของผลรวมของแต้มบนลูกเต๋า 


วิธีทำ    1. เนื่องจากโจทย์สนใจแต้มของลูกเต๋าที่หงายขึ้น
                 ดังนั้นเราต้องเขียนแต้มของลูกเต๋าที่มีโอกาสที่จะหงายขึ้นมาทั้งหมด
                 และเพื่อความสะดวกให้ (
a,b) แทนผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยที่
                         a    แทนแต้มที่หงายขึ้นของลูกเต๋าลูกแรก
                         
b    แทนแต้มที่หงายขึ้นของลูกเต๋าลูกที่สอง
                ดังนั้นแซมเปิลสเปซของการทดลองสุ่มคือ
                
S={(1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(1,5),(1,6),
                       (2
,1),(2,2),(2,3),(2,4),(2,5),(2,6),
                       (3
,1),(3,2),(3,3),(3,4),(3,5),(3,6),
                       (4
,1),(4,2),(4,3),(4,4),(4,5),(4,6),
                       (5
,1),(5,2),(5,3),(5,4),(5,5),(5,6),
                       (6
,1),(6,2),(6,3),(6,4),(6,5),(6,6)} 


                    2. เนื่องจากโจทย์สนใจผลรวมของแต้มบนลูกเต๋า
                         ดังนั้นเราต้องเขียนผลรวมของแต้มบนลูกเต๋าที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทั้งหมด
                        จะได้แซมเปิลสเปซของผลรวมของแต้มบนลูกเต๋าทั้ง 2 ลูก  คือ 
{2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12}

ตัวอย่างที่ 4   ในกล่องใบหนึ่งมีลูกบอลสีแดง 2 ลูก สีขาว 1 ลูก ถ้าเราหยิบลูกบอลออกจากกล่องมา 1 ลูก โดยวิธีสุ่ม
                      1. จงหาแซมเปิลสเปซของสีของลูกบอลที่จะเกิดขึ้น
                      2. จงหาแซมเปิลสเปซของลูกบอลที่หยิบออกมาได้ 


 วิธีทำ       1. เนื่องจากโจทย์สนใจสีของลูกบอลที่จะหยิบมาได้
                     ดังนั้นแซมเปิลสเปซของสีของลูกบอลที่หยิบได้คือ 
S= {สีแดง,สีขาว}
                2. เนื่องจากโจทย์สนใจลูกบอลที่จะหยิบมาได้ ซึ่งมีทั้งหมด 3 ลูก
                     สมมติให้เป็น แดง1 แดง2 ขาว1
                  ดังนั้นแซมเปลิสเปซของลูกบอลที่หยิบออกมาคือ S = {แดง1,แดง2ขาว1} 

 เหตุการณ์ ( Event ) คือ เซตย่อยหรือสับเซต ( Subset ) ของแซมเปิลสเปส ( Sample Space ) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ E

ตัวอย่างที่ 5  ในการทอดลูกเต๋า ลูก จำนวน ครั้ง และสนใจผลลัพธ์คือแต้มที่จะเกิดขึ้นจงหา

      1.  แซมเปิลสเปส S
      2.  เหตุการณ์ที่ได้แต้มที่หารด้วย ลงตัว ( E2 ) 
      3. เหตุการณ์ที่ได้แต้มคี่ ( E2 ) 

วิธีทำ

                1. S = {1,2,3,4,5,6 }

                2. E1 = {4,6}

                3. E3 = {1,2,3}

 ตัวอย่างที่ 6   ในการสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้คะแนนสูงสุดเท่ากับ 50 คะแนนต่ำสุด 20คะแนน
                     1.  แซมเปิลสเปส (S) คือ { 20 < X < 50} เมื่อ เป็นค่าหนึ่ง ๆ 
                     2.  เหตุการณ์ที่นักศึกษาได้น้อยกว่า 30 

                           E1 = { 20 < X < 30} 
                     3.  เหตุการณ์ที่นักศึกษาได้คะแนนสูงกว่า 40 

                          E2 = {40 < X < 50}

การทดลองสุ่ม  คือ การทดลองซึ่งทราบผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นว่าจะเป็นอะไรบ้าง แต่ไม่สามารถที่จะทราบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ถูกต้องแน่นอนว่าจะเกิดอะไรขึ้น เนื่องจากในการทดลองแต่ละครั้งอาจเกิดผลลัพธ์( Outcome ) หลายอย่าง เช่น

                การโยนเหรียญบาท เหรียญ ขึ้นไปในอากาศ แล้วตกลงพื้นอย่างอิสระ สามารถที่จะทำนายว่าจะออกหัว (Head ) หรือออกก้อย ( Till ) ซึ่งเป็นผลลัพธ์ได้ล่วงหน้า

                การโยนลูกเต๋า ลูก ขึ้นไปในอากาศ แล้วตกลงพื้นอย่างอิสระ ซึ่งเราทราบว่าผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น คือ 1, 2, 3, 4, 5, 6  แต่ว่าผลลัพธ์มีหลายอย่าง เราไม่สามารถทำนายได้ว่าจะออกเลขอะไร

1)

เกมปาเป้ามีรางวัลตามภาพในเป้า เป้าถูกปั่นให้หมุนจนไม่เห็นภาพรางวัล แล้วให้ผู้เล่นเกมปาลูกดอกใส่เป้า 1 ครั้ง ลูกดอกปักในช่องใด ผู้เล่นเกมได้รางวัลตามภาพที่อยู่ในช่องนั้น ถ้าลูกดอกปักในช่องที่ไม่มีภาพ ผู้เล่นเกมไม่ได้รางวัล จงหาความน่าจะเป็นที่
1.1) ผู้เล่นได้รางวัลเป็นตุ๊กตาหมี
1.2) ผู้เล่นได้รางวัลเป็นไอศรีม
1.3) ผู้เล่นไม่ได้รางวัลใดเลย
1.4) ผู้เล่นได้รางวัลใดรางวัลหนึ่ง

.....เฉลย ข้อ 1

2)
ตูนทายวันเกิดเพื่อน โดยเพื่อนบอกใบ้ให้ว่าเขาเกิดเดือนมีนาคม จงหาความน่าจะเป็นที่ตูนทายถูกว่าเพื่อนเกิดวันที่เท่าไร

.....เฉลย ข้อ 2

3)
ในขวดโหล มีลูกกวาดรสส้ม 4 ลูก
ลูกกวาดรสมะนาว 3 ลูก
ลูกกวาดรสสตรอเบอรี่ 5 ลูก
หยิบลูกกวาด 1 ลูกจากขวดโหลนี้
จงหาความน่าจะเป็นที่หยิบได้ลูกกวาดรสมะนาว

.....เฉลย ข้อ 3

4)
ในถุงมีธนบัตรใบละ 1,000 บาท 2 ใบ
ธนบัตรใบละ 500 บาท 3 ใบ
ธนบัตรใบละ 100 บาท 8 ใบ
ธนบัตรใบละ 50 บาท 10 ใบ
ธนบัตรใบละ 20 บาท 15 ใบ
ล้วงธนบัตร 1 ใบจากถุง
จงหาความน่าจะเป็นที่ล้วงได้ธนบัตรที่มีมูลค่าสูงสุด

.....เฉลย ข้อ 4

5)
ลานจอดรถแห่งหนึ่งมีรถจอดอยู่ 100 คัน
เป็นรถเก๋ง 60 คัน
รถกระบะ 30 คัน
ที่เหลือเป็นรถตู้
รถทุกคันมีโอกาสที่จะขับออกจากลาดจอดรถเท่ากัน
จงหาความน่าจะเป็นที่รถคันแรกที่ขับออกจากลานจอดรถเป็นรถตู้

.....เฉลย ข้อ 5

6)
แจกแบบสอบถาม 100 ฉบับ เพื่อสำรวจว่าผู้ชมชอบรายการโทรทัศน์ประเภทใด (ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกตอบได้เพียง 1 รายการ) ผลการสำรวจเป็นดังนี้
รายการจำนวนผู้ที่ชอบดู
ละคร60
มิวสิควิดีโอ20
เกมโชว์10
ข่าว5
สารคดี5
*** รวม ***100

สุ่มหยิบแบบสอบถามมา 1 ฉบับ
จงหาความน่าจะเป็นที่ไม่พบคนที่ชอบดูข่าว

.....เฉลย ข้อ 6

7)
งานวิจัยชิ้นหนึ่งเก็บสถิติของผู้ที่เสียชีวิตในช่วงอายุต่าง ๆ กันดังตาราง
เสียชีวิตเมื่ออายุจำนวนผู้เสียชีวิต
0 - 101
11 - 202
21 - 308
31 - 4012
41 - 5018
51 - 6020
61 - 7024
71 - 8010
81 - 903
91 - 1002

ใช้สถิติจากงานวิจัยนี้คำนวณความน่าจะเป็นที่นายยั่งยืนจะเสียชีวิตเมื่ออายุ 80 ปี

.....เฉลย ข้อ 7

8)
ลูกเต๋าโยนลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง
จงหาความน่าจะเป็นที่ได้แต้มที่หารด้วย 3 ลงตัว

.....เฉลย ข้อ 8 
9)
นักเรียนห้องหนึ่งประกอบด้วยนักเรียนชาย 20 คน นักเรียนหญิง 25 คน
นักเรียนห้องนี้มีผู้ที่เป็นจิตอาสา 18 คน ซึ่งเป็นชาย 8 คนและเป็นหญิง 10 คน
ในการแจกของขวัญวันเด็ก
นักเรียนหญิงได้รับโบว์ผูกผม
นักเรียนชายได้รับหมวกแก็ป
นักเรียนที่เป็นจิตอาสาได้รับเสื้อยืด
จงหาความน่าจะเป็นที่นักเรียนห้องนี้ได้รับทั้งโบว์ผูกผมและเสื้อยืด

.....เฉลย ข้อ 9

10)
รายการเกมโชว์รายการหนึ่ง มีแผ่นป้าย 30 แผ่น เขียนเลขกำกับไว้ตั้งแต่ 1 ถึง 30 ผู้ที่เล่นเกมจนเข้ารอบสุดท้ายได้รางวัลโดยให้เลือกแผ่นป้าย 1 แผ่น จากแผ่นป้ายทั้งหมด 30 แผ่น

ถ้าเลือกได้เลขที่หารด้วย 2 ลงตัวจะได้รางวัลเป็นโทรศัพท์มือถือ
ถ้าเลือกได้เลขที่หารด้วย 3 ลงตัวจะได้รางวัลเป็นโทรทัศน์
แป๋วเข้ารอบสุดท้าย จงหาความน่าจะเป็นที่แป๋วได้ทั้งโทรศัพท์มือถือและโทรทัศน์

.....เฉลย ข้อ 10
ตัวอย่างที่ 1 มีเสื้อ 3 ตัว กางเกง 4 ตัว จะจัดเป็นชุดที่ไม่ซ้ำกันได้กี่แบบ …….ตอบ3\times 4 = 12 แบบ
……………มีเรือวิ่งข้ามฟาก 3 ลำ จะนั่งเรือไปและกลับไม่ให้ซ้ำลำกันได้กี่วิธี …….ตอบ 3\times 2 = 6 วิธี
……………ทอดลูกเต๋า 2 ครั้ง จะมีผลออกมาได้กี่แบบ ……. ตอบ6\times 6 = 36 แบบ
ตัวอย่างที่ 2 ใช้ตัวเลข 0, 1, 2, 3, 4 และ 5 มาสร้างจำนวน 3 หลัก จะสร้างได้กี่จำนวน ถ้ากำหนดให้
…..1) แต่ละหลักไม่ซ้ำกัน …….ตอบ 5\times 5\times 4 = 100 จำนวน
…..2) เป็นจำนวนคี่และแต่ละหลักไม่ซ้ำกัน …….ตอบ 4\times 4\times 3 = 48จำนวน
…..3) มีค่ามากกว่า 350 และแต่ละหลักไม่ซ้ำกัน……. ตอบ \left ( 1\times 1\times 3 \right )+\left ( 2\times 5\times 4 \right ) = 43 จำนวน
…..4) หารด้วย 10 ลงตัว……. ตอบ 1\times 5\times 6 = 30 จำนวน
ตัวอย่างที่ 3 บริษัทรถยนต์แห่งหนึ่งตัวถังรถยนต์ออกมา 2 แบบ มีเครื่องยนต์ 2 ขนาด และสีต่าง ๆ กัน 3 สี ถ้าต้องการแสดงรถยนต์ให้ครบทุกแบบ ทุกขนาดและทุกสี จะต้องใช้รถยนต์อย่างน้อยที่สุดกี่คัน
….วิธีทำ  เลือกตัวถังแล้วเลือกเครื่องยนต์แล้วเลือกสีได้ 2\times 2\times 3 = 12 คัน
ตัวอย่างที่ 4 จัดคน 10 คน นั่งเก้าอี้ 3 ตัว ซึ่งวางเรียงเป็นแถวเดียวกันได้ทั้งหมดกี่วิธี
….วิธีทำ  จัดคนเข้านั่งได้  10\times 9\times 8 = 720 วิธี
ตัวอย่างที่ 5 ข้อสอบฉบับหนึ่งมี 10 ข้อเป็นแบบถูก – ผิด จะมีวิธีตอบข้อสอบที่ไม่ซ้ำกันเลยได้ทั้งหมดกี่วิธี
….วิธีทำ…..ทำแบบทดสอบได้  2\times 2\times 2 \times \cdots \times 2 = 2^{10} = 1024 วิธี
ตัวอย่างที่ 6 ในการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งจะประกอบไปด้วย ประธาน รองประธาน เหรัญญิก และเลขานุการ โดยที่กรรมการแต่ละคนจะดำรงตำแหน่งได้เพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น ถ้ามีผู้สมัครทั้งหมด 6 คน เป็นชาย 2 คน เป็นหญิง 4 คน ผลการเลือกตั้งกรรมการชุดนี้จะมีได้ทั้งหมดกี่แบบที่ต่างกัน โดยที่
……. 1. ไม่มีเงื่อนไขเพิ่มเติม …….ตอบ6\times 5\times 4\times 3 = 360 แบบ
……. 2. กำหนดให้ประธานเป็นชาย และเลขาต้องเป็นหญิง …….ตอบ2\times 4\times 4\times 3 = 96 แบบ
……. 3. กรรมการต้องเป็นหญิงล้วน …….ตอบ4\times 3\times 2\times 1 = 24 แบบ
ตัวอย่างที่ 7 หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ขึ้นต้นด้วย 086720 xxxx จะมีทั้งหมดกี่หมายเลข
….วิธีทำ…..เลือกหมายเลขขึ้นต้นได้ 1 วิธีจากนั้นเลือกอีก 4 หมายเลขที่เหลือได้ จะได้ 1\times 10\times 10\times 10\times 10 = 10,000 หมายเลข
ตัวอย่างที่ 8 จากอักษรในคำว่า “PHYSIC” นำมาสร้างคำใหม่ประกอบด้วย 3 อักษร ต่างกัน (ไม่สนใจความหมายของคำเหล่านั้น) โดยที่
……. 1. ไม่มีเงื่อนไขเพิ่มเติม …….ตอบ6\times 5\times 4 = 120 วิธี
……. 2. ต้องเป็นพยัญชนะทั้งหมด …….ตอบ5\times 4\times 3 = 60 วิธี
ตัวอย่างที่ 9 ห้องประชุมแห่งหนึ่งมี 3 ประตู จงหาวิธีในการเดินเข้า – ออกห้องประชุม โดยมีเงื่อนไขต่างกัน ดังนี้
……. 1. จำนวนวิธีในการเดินเข้า …….ตอบ3 วิธี
……. 2. จำนวนวิธีในการเดินเข้า – ออก …….ตอบ3\times 3 = 9 วิธี
……. 3. จำนวนวิธีในการเดินเข้า – ออก โดยไม่ซ้ำประตูกัน …….ตอบ3\times 2 = 6 วิธี
……. 4. จำนวนวิธีในการเดินเข้า – ออก โดยใช้ประตูเดิม …….ตอบ3\times 1 = 3 วิธี
ตัวอย่างที่ 10 จดหมายแตกต่างกัน 3 ฉบับ ต้องการทิ้งจดหมายในตู้ไปรษณีย์ 4 ตู้ จะทิ้งได้กี่วิธี โดยที่
……. 1. ไม่มีเงื่อนไขเพิ่มเติม …….ตอบ4\times 4\times 4 = 64 วิธี
……. 2. ห้ามทิ้งซ้ำตู้กัน …….ตอบ4\times 3\times 2 = 24 วิธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น